วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการกระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประชาชนมีการใช้สื่อสารสนเทศครอบคลุมเกือบทุกด้านของวิถีชีวิต ทั้งการติดต่อสื่อสาร การเสพข่าวสารและความบันเทิงต่างๆ การดำเนินธุรกิจ หรือธุรกรรมทางการเงิน ตลอดจนการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ซึ่งได้กลายเป็นช่องว่างให้เหล่าอาชญากรใช้สื่อสารสนเทศในการหลอกลวงผู้อื่น ส่งผลให้ผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ข้อมูลบัตรเครดิตถูกแฮกเกอร์ขโมยแล้วนำไปทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลบัตรที่กระทำความผิดโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศควรระมัดระวังและทราบวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการกระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

นั้นๆก็อาจจะอนุญาตให้ผ่านเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ผู้ใช้งานส่วนใหญ่อาจไม่ทันได้ตระหนักว่าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองนั้นมีข้อมูลสำคัญและเป็นที่ต้องการของอาชญากรมากเพียงใด จึงอาจทำให้ละเลยการติดตั้งโปรแกรมที่สามารถช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์ไปเสีย เหตุผลที่ผู้ไม่หวังดีต้องการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของเรามีอยู่ด้วยกันหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ต้องการทำลายข้อมูลสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ทำให้คอมพิวเตอร์ของเราเกิดความเสียหาย เช่น ข้อมูลในเครื่องหายไป เปิดเครื่องไม่ได้ ต้องการขโมยข้อมูลสำคัญๆในเครื่องของเรา เช่น บัญชีผู้ใช้ พาสเวิร์ด เลขบัญชีธนาคาร เพื่อขโมยเงินในบัญชีธนาคารของเรา หรือขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราเพื่อนำไปหลอกลวงผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง ประการสุดท้ายคือ ต้องการทำลายระบบคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆเป็นทอด โดยผู้ไม่หวังดีจะทำการบุกรุกและปล่อยไวรัสหรือโปรแกรมที่ไม่หวังดีเข้ามาฝังตัวอยู่ในเครื่องของเราก่อน จากนั้นไวรัสหรือโปรแกรมเหล่านั้นจะสั่งการให้คอมพิวเตอร์ของส่งต่อไวรัสไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆอีกเป็นทอดๆ อาจทำโดยการส่งอีเมล์ที่ติดไวรัสหรือมีโปรแกรมอันตรายแนบไปด้วยไปให้เพื่อนเรา เป็นต้น
วิธีป้องกันสามารถทำได้โดยการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้งหลังการใช้งาน ติดตั้งไฟร์วอลล์หรือโปรแกรมแอนติไวรัสลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสกัดกั้นไวรัสหรือโปรแกรมที่ไม่หวังดีเหล่านี้ ไม่ให้เข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์ได้ อีกทั้งควรหมั่นอัพเดตการทำงานของโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการติดไวรัสตัวใหม่ๆที่อาจถูกสร้างขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
การสวมรอยบุคคล (Identity Theft)
ในปัจจุบัน นอกจากการขโมยเอกสารสำคัญเช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคารที่อยู่ในรูปแบบของกระดาษแล้ว ยังมีการขโมยในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือการขโมยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายที่อาจเผลอวางทิ้งไว้โดยตรง เมื่อเอกสารหรือข้อมูลสำคัญเหล่านั้นถูกขโมยไปแล้ว ผู้ไม่หวังดีอาจนำไปขายต่อเพื่อเอาเงินหรืออาจสวมรอยเป็นเจ้าของเอกสารนั้นและทำธุรกรรมต่างๆเสมือนเป็นเจ้าของเอกสารจริงๆ เช่น ขโมยบัญชีและพาสเวิร์ดของธนาคารออนไลน์เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ไม่หวังดี หรือนำเงินในบัญชีไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายได้รับผลกระทบ เสียทั้งทรัพย์สินเงินทอง และเสียประวัติในคดีที่ตนเองไม่ได้ก่อ เป็นต้น
วิธีการป้องกันสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
ระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญๆ เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเครดิต เลขที่บัญชีธนาคาร พาสเวิร์ดต่างๆ เพราะผู้ไม่หวังดีจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการเข้าสู่บัญชีผู้ใช้ในเว็บไซต์ต่างๆหรือบัญชีธนาคารออนไลน์ของเรา
ให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเลขที่หรือรหัสบัตรเครดิต เช่นในการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มออนไลน์ ควรจะทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์ที่ไว้ใจได้และควรตรวจสอบชื่อและที่อยู่เว็บไซต์ให้ดีทุกครั้ง นอกจากนี้พึงระลึกไว้เสมอว่าธนาคารจะไม่มีการร้องขอให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หากผู้ใช้งานพบเจอ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าคือเว็บไซต์ปลอม
เวลาที่ผู้ใช้งานจะซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ ควรที่จะตรวจเช็คให้ดีก่อนทำการสั่งซื้อว่าเว็บไซต์นั้นสามารถเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด มีประวัติย้อนหลังในการโกงลูกค้าคนก่อนๆหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจโอนเงินหรือให้ข้อมูลบัตรเครดิตแก่เขาไป
เลือกใช้พาสเวิร์ดที่ยากต่อการคาดเดา อย่าใช้พาสเวิร์ดที่สามารถเดาได้ง่าย เช่น พ.ศ.เกิด เบอร์โทรศัพท์สี่ตัวหลังหรือเลขบัตรประชาชนสี่ตัวหลังเป็นต้น อีกทั้งควรหมั่นเปลี่ยนพาสเวิร์ดใหม่บ่อยๆ เช่น ทุกๆ 3 เดือนหรือ 6 เดือน และอย่าใช้พาสเวิร์ดซ้ำๆกันกับบัญชีผู้ใช้ทุกอันที่เรามี เพราะถ้าหากผู้ไม่หวังดีนั้นรู้พาสเวิร์ดของเรา เขาจะสามารถเข้าบัญชีผู้ใช้ของเราได้ทั้งหมดและจะทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก
โปรแกรมโทรจัน (Trojan Program)
โปรแกรมโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานและฝังตัวทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์โดยที่คุณไม่รู้ตัว โปรแกรมโทรจันนี้อาจติดมากับไฟล์ที่ถูกแนบว่าในอีเมล์ หรือติดมากับแฟลชไดรฟว์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลขนาดพกพาอื่น เมื่อนำแฟลชไดรฟว์ไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นติดโปรแกรมโทรจันได้ ส่วนสาเหตุที่เรียกว่า โทรจัน นั้นก็เป็นเพราะว่าโปรแกรมนี้ใช้หลักการทำงานเดียวกันกับม้าโทรจันในนิยายปรัมปราของกรีก ที่มองภายนอกก็เป็นเพียงแค่ม้าไม้ธรรมดาๆ โปรแกรมไม่มีใครรู้ว่ามีข้าศึกแอบซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้นั้น เมื่อถูกนำเข้าไปในอาณาจักรของศัตรู ข้าศึกก็ออกมาโจมตีเมืองของศัตรูจนย่อยยับ เช่นเดียวกับโปรแกรมโทรจันที่แฝงตัวอยู่กับไฟล์ประเภทต่างๆ เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดไฟล์นั้นเข้าไปในตัวเครื่อง โทรจันก็เข้าสู่ตัวเครื่องด้วย และทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของคุณในที่สุด อย่างไรก็ดี การที่เราดาวน์โหลดไฟล์หรือโปรแกรมที่มีโทรจันแฝงมาด้วยนั้น โทรจันจะยังไม่ทำงานหรือฝังตัวลงในคอมพิวเตอร์ทันที โทรจันจะฝังตัวลงในคอมพิวเตอร์ก็ต่อเมื่อผู้ใช้งานสั่งรันหรือติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์เท่านั้น
วิธีการป้องกันก็คือ ผู้ใช้งานจึงต้องระมัดระวังในการดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น อีกทั้งควรติดตั้งโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการดักจับหรือสกัดกั้นโทรจันเพื่อไม่ให้เข้าไปทำความเสียหายแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ และหมั่นอัพเดตโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมสามารถดักจับโทรจันตัวใหม่ได้เสมอ อีกทั้งยังควรสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งเพื่อความปลอดภัยด้วย